Categories
หนังสือ

รีวิวหนังสืออวสานอัลไซเมอร์ (THE END OF ALZHEIMER’S)

เป็นหนังสือที่มีประโยชน์และน่าอ่านมาก ๆ อ่านเพลิน อ่านสนุก (สำหรับคนที่ชอบอ่านหนังสือที่เป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์)
ให้คะแนน 10/10

มีประโยคหลักประโยคหนึ่งที่ผู้เขียนพูดซ้ำหลายครั้งว่า
“ทุกคนรู้จักผู้รอดชีวิตจากมะเร็ง แต่ไม่มีใครรู้จักผู้รอดชีวิตจากอัลไซเมอร์”

“บ่อยแค่ไหนที่เราได้ยินว่าโรคอัลไซเมอร์นั้นป้องกันและรักษาไม่ได้”
หนังสือเล่มนี้บอกว่าเป็นเพราะอัลไซเมอร์เป็นโรคที่ซับซ้อน
ไม่ได้เกิดจากปัจจัยเดียว แต่มีถึง 36 ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้

ผู้เขียนได้อธิบายแต่ละปัจจัยด้วยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
ซึ่งมาจากการทุ่มเทศึกษาและวิจัยถึง 30 ปี

การที่จะรักษาโรคอัลไซเมอร์ได้นั้นต้องแก้ไขทั้ง 36 ปัจจัยพร้อมกัน
ด้วยกระบวนการที่เรียกว่า ReCODE

กระบวนการ ReCODE ไม่ใช่วิธีสำเร็จรูปซะทีเดียว
เราต้องตรวจหาค่าหลายอย่างของร่างกาย
และแก้ไขค่าต่าง ๆ ให้กลับมาเป็นค่าที่เหมาะสม
ซึ่งแต่ละคนจะมีค่าที่ต้องให้ความสำคัญไม่เหมือนกัน

กระบวนการ ReCODE มีรายละเอียดเยอะมาก ๆ
ซึ่งวิธีการส่วนใหญ่นั้นเราต้องปรับพฤติกรรมและการใช้ชีวิต เช่น
– โภชนาการ อาหารที่ควรทาน ไม่ควรทาน รวมถึงอาหารเสริม
– แก้ไขการอักเสบในร่างกาย
– ออกกำลังกาย
– การนอน
– ความเครียด
– การฝึกสมอง
– รักษาลำไส้
– ปรับสมดุลฮอร์โมน
– กำจัดสารพิษและเชื้อโรค
– การใช้ยา

ถึงแม้หลายประเด็นอาจยังเป็นที่สงสัยจากวงการแพทย์และวิทยาศาสตร์
แต่เมื่อไม่มีอะไรจะเสียแล้ว ข้อมูลในหนังสือเล่มนี้ก็อาจเป็นความหวังสุดท้ายให้กับใครหลายคน
ซึ่งผู้เขียนหวังว่า “ไม่มีใครควรตายจากโรคอัลไซเมอร์” อีก
และเมื่ออ่านจบเราก็คิดว่าผู้เขียนทุ่มเทเพื่อสิ่งนี้จริง ๆ

Categories
หนังสือ

หนังสือ Building a Second Brain

โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่าหนังสือเล่มนี้น่าจะเป็นหนึ่งในหนังสือที่ดีที่สุด เปลี่ยนชีวิตของผมที่สุด และอยากแนะนำมากที่สุดอีกเล่มหนึ่ง

ก่อนหน้านี้ผมรู้สึกว่าทุกอย่างในชีวิตมันมากเกินไป เข้ามาเร็วเกินไป เปลี่ยนแปลงเร็วเกินไป จนจัดการไม่ทัน เรียนรู้ไม่ทัน จำได้ไม่หมด ทำให้รู้สึกเครียดอยู่บ่อย ๆ

แม้ว่าหนังสือ Building a Second Brain เล่มนี้จะไม่หนามาก แต่ผมใช้เวลาอ่านนานมากถึง 2 เดือนเต็ม เพราะระหว่างที่อ่าน ผมค่อย ๆ ลองนำไอเดียที่ได้จากหนังสือมาทดลองใช้ อ่านแต่ละบทซ้ำ ๆ เพื่อปรับระบบที่สร้างขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก จนได้ระบบที่เริ่มเหมาะสมกับตัวเอง

ผมใช้ระบบนี้กับการทำงาน การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ งานอดิเรก และชีวิตส่วนตัว
ตอนนี้ผมรู้สึกว่าหลาย ๆ อย่างเริ่มอยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้ เครียดน้อยลง และสามารถไว้ใจในระบบที่ตัวเองสร้างขึ้นได้

ไอเดียที่หนังสือบอกเล่าไม่ใช่ระบบที่สำเร็จรูป ไม่ตายตัว ไม่ได้บอกว่าต้องใช้เครื่องมือตัวไหนเพราะจะไม่มีเครื่องมือที่ใช้ได้กับทุกคน มันปรับเปลี่ยนได้ แต่ละคนสามารถเลือกสิ่งที่คิดว่ามีประโยชน์มาใช้ และเราก็ทิ้งส่วนที่คิดว่าไม่ใช่ไปได้เช่นกัน ทุกคนจะสร้างระบบของตนเองที่ไม่เหมือนกัน

แม้วันนี้เรามีระบบเป็นของตัวเองแล้ว เราก็ต้องปรับเปลี่ยนระบบของเราอยู่เสมอตามแต่ละช่วงเวลาและความต้องการในชีวิต

หนังสือเล่มนี้นำเสนอหลากหลายแนวคิด อธิบายเข้าใจง่าย แนวคิดหลักจะถูกอธิบายซ้ำจนเราจำขึ้นใจและนำไปใช้ได้ ซึ่งแนวคิดที่เป็นแกนหลักที่สุดคือ CODE ซึ่งมาจาก

  • Capture : เก็บข้อมูลที่เรารู้สึกว่ามันสำคัญกับเราจริง ๆ จากหลายแหล่ง ให้มารวมกันในที่เดียว
  • Organize : จัดการกับข้อมูลต่าง ๆ เหล่านั้นตามการใช้งาน โดยใช้หลักการของ PARA : Project, Area, Resource และ Archives
  • Distill : สกัดสาระลำคัญด้วย Progressive Summarization
  • Express : แชร์ความรู้ของเรา โดยที่เราจะมี Note และระบบที่เราสร้างขึ้นมาช่วยสนับสนุน

ในตอนนี้ผมเองมีระบบในการ Capture และ Organize ที่ช่วยผมได้มากและผมพอใจในระดับหนึ่งแล้ว แต่ยังต้องทบทวนและฝึกฝน Distill และ Express ต่อไป

นอกจาก CODE ที่เป็นแนวคิดหลักของหนังสือแล้ว PARA ซึ่งเป็นแนวคิดในการ Organize ข้อมูลต่าง ๆ ก็สำคัญไม่แพ้กัน และอาจเป็นเรื่องที่ผู้อ่านส่วนใหญ่สนใจที่สุดด้วย ซึ่ง PARA ประกอบด้วย

  • Project : เก็บสิ่งที่เรากำลังทำ กำลังสนใจที่สุดอยู่ในขณะนี้ ซึ่งมักจะเป็นสิ่งที่มีขอบเขตเวลาจำกัด และในเวลาหนึ่ง ๆ จะมีเพียงไม่กี่อย่าง
    ซึ่งเท่าที่ผมอ่านความเห็นของผู้อ่านท่านอื่น ๆ ที่ได้อ่านหนังสือ Building a Second Brain เล่มนี้ มีหลายคนที่ไม่ชอบแนวคิด PARA เพราะคิดว่าตนเองไม่มี Project ที่กำลังทำอยู่ แต่ถ้าทำความเข้าใจดี ๆ จะพบว่า Project สามารถเป็นได้มากกว่าโครงการที่เกี่ยวกับงานหรือการเรียน เช่น
    • รายการซื้อของประจำสัปดาห์
    • วางแผนจัดงานวันเกิดให้ลูก
    • วางแผนสำหรับการหางานใหม่
    • วางแผนการท่องเที่ยวญี่ปุ่น
  • Area : มีความคล้ายกับ Project แต่มีขอบเขตเวลายาวกว่า หรืออาจจะยังไม่มีขอบเขตเวลาที่สิ้นสุด ณ ตอนนี้ เช่น
    • วางแผนการออกกำลังกายและติดตามผล
    • วางแผนการเงินของครอบครัว
    • วางแผนสำหรับการเกษียณ
  • Resource : คือข้อมูลอ้างอิงที่เราสามารถนำมาใช้ใน Project อื่น ๆ ในอนาคต
  • Archives : คือ Project หรือ Area ที่ไม่ต้องทำหรือไม่สนใจในตอนนี้แล้ว แต่เราไม่อยากลบทิ้งไปเพราะอาจนำกลับมาทำใหม่อีกครั้ง หรืออาจนำข้อมูลมาใช้กับโปรเจคใหม่ ๆ ในอนาคต เช่น
    • โควิด-19 กลับมาระบาดอีกครั้ง ทำให้เราต้องพักแผนการไปเที่ยวญี่ปุ่นไว้ก่อน เราก็สามารถย้ายโปรเจค “วางแผนการท่องเที่ยวญี่ปุ่น” มาที่ Archives ได้ และหากสามารถไปท่องเที่ยวได้อีกครั้ง เราก็สามารถย้ายโปรเจค “วางแผนการท่องเที่ยวญี่ปุ่น” กลับไปที่ Project ได้เช่นกัน
    • บริษัทได้ลูกค้ารายใหญ่ซึ่งมาพร้อมกับโปรเจคใหม่ ทำให้ทั้งทีมต้องพักโปรเจคที่กำลังทำอยู่แล้วมาช่วยกันทำโปรเจคใหม่ เราก็สามารถย้ายโปรเจคที่ถูกพักไว้มาที่ Archives ได้เช่นกัน

ใครที่อยากสร้างระบบที่ช่วยจัดการชีวิตและข้อมูลในโลกดิจิตอลของตนเอง ในขณะที่ทุกอย่างถาโถมเข้ามาจากทุกทิศทุกทาง ผมแนะนำหนังสือ Building a Second Brain เล่มนี้ครับ

Categories
หนังสือ

หนังสือ วะบิ ซะบิ

เป็นหนังสือที่จะอ่านง่าย ๆ สบาย ๆ อ่านไปเรื่อย ๆ ก็ได้

หรือจะอ่านช้า ๆ พยายามคิดตาม ทำความเข้าใจ ก็จะกลายเป็นหนังสือที่อ่านยากขึ้นมา
เพราะหลายอย่างมันขัดแย้งกับความคิด ความเชื่อ ค่านิยมของคนทั่วไป

โดยความเข้าใจหลังจากอ่านจบ
วะบิ ซะบิ มีหลัก 3 เรื่อง
1. ไม่มีสิ่งใดสมบูรณ์แบบ
2. ไม่มีสิ่งใดเสร็จสมบูรณ์
3. ไม่มีสิ่งใดคงอยู่ตลอดไป

โดยส่วนตัว อ่านแล้วรู้สึกดี รู้สึกสบายใจ ปล่อยวาง
รู้สึกว่าแนวคิดของ วะบิ ซะบิ เป็นแนวคิดที่ ชีวิตเบาสบาย

Categories
การพัฒนาซอฟท์แวร์

รีวิวหนังสือ Head First Go

หนังสือ Head First Go
หนังสือ Head First Go

หนังสือ Head First Go เล่มนี้ เป็นหนังสือ Golang ที่ผมคิดว่าอ่านง่าย อ่านสนุกมาก

สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งหัดเขียน Golang หนังสือเล่มนี้เหมาะมากที่จะอ่านเป็นเล่มแรก ๆ เพราะมีรูปภาพประกอบการอธิบาย ให้เข้าใจได้ง่าย มีรูปอธิบายโค้ดแต่ละบรรทัด และโค้ดตัวอย่างก็ไม่ยาวจนเกินไป ผมคิดว่ารูปประกอบในหนังสือเล่มนี้ช่วยให้จำ syntax และเข้าใจหัวข้อต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นมาก

ตัวอย่างการอธิบายโค้ด Golang ในหนังสือ Head First Go
ตัวอย่างรูปประกอบการอธิบายเนื้อหา
ตัวอย่างการอธิบายโค้ด Golang ในหนังสือ Head First Go
ตัวอย่างรูปประกอบการอธิบายเนื้อหา
ตัวอย่างการอธิบายโค้ด Golang ในหนังสือ Head First Go
ตัวอย่างรูปประกอบการอธิบายเนื้อหา

ในฐานะคนที่เขียน Golang มานานแล้ว ผมก็ชอบหนังสือเล่มนี้นะครับ ผมชอบวิธีอธิบาย ชอบรูปประกอบ เพราะช่วยให้เราจำสิ่งที่เรารู้อยู่แล้วได้ง่ายขึ้น และยังช่วยให้เราได้เทคนิคใหม่ ๆ เพื่อนำไปใช้อธิบายคนอื่นต่อได้ด้วย

อีกส่วนที่ผมชอบมาก คือ หัวข้อ “there are no Dumb Questions” ที่มีแทรกอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งจะตอบคำถามสำหรับมือใหม่ที่เพิ่งจะมาเรียนรู้ Golang แล้วสงสัยว่า

  • ทำไม Golang ไม่มีสิ่งนี้ ?
  • ในภาษาอื่นทำแบบนี้ แต่ทำไม Golang ทำอีกแบบนึง ?
ผมชอบเนื้อหาส่วน "there are no Dumb Questions" ในหนังสือ Head First Go เล่มนี้มาก
ผมชอบเนื้อหาส่วน “there are no Dumb Questions”

ผมว่าเนื้อหาส่วนนี้ช่วยให้คนที่เคยเขียนภาษาอื่นมาก่อน เข้าใจธรรมชาติของ Golang มากขึ้น

และช่วยให้คนที่เขียน Golang มาซักพักแล้ว เข้าใจมากขึ้นว่า ผู้ที่พัฒนา Golang ขึ้นมา มีเจตนาอะไรที่เลือกทำอย่างนั้น

ในส่วนของเนื้อหา หนังสือเล่มนี้ก็ครอบคลุมส่วนหลัก ๆ ของ Golang ได้ครบถ้วนเพียงพอสำหรับมือใหม่ที่จะเริ่มเขียน Golang แล้ว

แต่สำหรับมือเก๋าอาจไม่ได้ความรู้อะไรเพิ่มเติมมากนัก บางประเด็นก็ไม่ได้ลงลึกนัก เช่น เรื่อง Channel ที่เนื้อหาหลักไม่พูดถึงเรื่อง buffer เลย แต่ก็ไปเก็บตกให้เล็กน้อยในส่วนของเนื้อหาท้ายเล่ม

ผมอ่านหนังสือเล่มนี้ใน oreilly.com ผมคิดว่าการจัด format ดีมาก ไม่ต่างจากหนังสือที่เป็นเล่มเลย ส่วนถ้าเป็น kindle ก็ไม่ได้แย่มาก แต่สู้อ่านใน oreilly.com ไม่ได้ (ลองไปกดดาวน์โหลด kindle version มาลองอ่านดูก่อนก็ได้ครับ)

หนังสือเล่มนี้หนา 560 หน้า ผมใช้เวลาอ่านวันละ 2-3 ชั่วโมง + coding ตามเนื้อหาแทบทุกส่วน และยังทดลองเพิ่มเติมเองเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น เรียกว่าอ่านละเอียดมาก อ่านเหมือนคนไม่เคยเขียน Golang มาก่อน ผมใช้เวลาอ่าน 10 วันก็จบครับ

……

มือใหม่ที่ต้องการศึกษา Golang ผมแนะนำหนังสือเล่มนี้เลยครับ

Categories
หนังสือ

รีวิวหนังสือ The Power of INPUT

หนังสือ The Power of Input เล่มนี้ เป็นหนังสือที่ต่อเนื่องจากหนังสือ The Power of Output ของผู้เขียนท่านเดียวกัน
ถึงแม้จะเป็นหนังสือเกี่ยวกับ Input แต่ตลอดทั้งเล่มผู้เขียนได้พูดถึง Output อยู่ตลอดเวลา เมื่ออ่านจบเราจะยิ่งเข้าใจเรื่องของการ Output มากขึ้น

หนังสือเล่มนี้นำเสนอเทคนิคดี ๆ เกี่ยวกับ Input เช่น การอ่าน การฟัง การเรียน การพูดคุย การจัดการการใช้งานคอมพิวเตอร์และ Internet และอีกหลาย ๆ เรื่อง

โดยส่วนตัวผมคิดว่าหนังสือเล่มนี้อ่านง่าย อ่านให้จบได้อย่างรวดเร็ว เพราะแม้เนื้อหาจะเยอะ(300 กว่าหน้า) แต่ผู้เขียนแบ่งเนื้อหาออกเป็นหัวข้อย่อย ๆ โดยแต่ละหัวข้อจบใน 2-3 หน้า นอกจากนี้แต่ละหัวข้อผู้เขียนได้สรุปใจความสำคัญไว้ให้แล้ว มีรูปประกอบซึ่งเป็นใจความสำคัญในทุกหัวข้อ และไฮไลต์ข้อความสำคัญไว้ให้ด้วย

สรุปสั้น ๆ สำหรับบางหัวข้อที่ผมให้ความสนใจ
กฎพื้นฐานของ Input
วิธีอ่านหนังสือ

Categories
หนังสือ

หนังสือ The Power of Input – กฎพื้นฐานของ Input

ทุกวันนี้ข้อมูลความรู้ไม่ใช่สิ่งที่ขาดแคลนแล้ว เราสามารถหาข้อมูลในสิ่งที่เราอยากรู้ได้ทุกอย่าง เราจึงพยายามอ่านเยอะ ๆ เรียนรู้เยอะ ๆ แต่ถ้าเรารับ Input แล้วสุดท้ายจำไม่ได้ก็ไม่มีประโยชน์อยู่ดี

ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้พบว่าคนส่วนใหญ่จำสิ่งที่อ่านในแต่ละสัปดาห์ได้แค่ 3% เท่านั้น แต่ถ้าเรารับเฉพาะข้อมูลที่จำเป็น และเลือกที่จะไม่รับหรือทิ้งสิ่งที่ไม่จำเป็นซะ เราก็จะสามารถเพิ่มอัตราการจดจำข้อมูลได้ถึง 90% หรือเพิ่มขึ้น 30 เท่า เลยทีเดียว

ดังนั้นการรับ Input เป็นเรื่องของคุณภาพ มากกว่าเรื่องของปริมาณ และเมื่อเราคุมคุณภาพของ Input ได้แล้วค่อยเพิ่มปริมาณทีหลัง

หนังสือ The Power of Input เล่มนี้ มีกฎพื้นฐาน 3 ข้อ คือ

  1. ต้อง “ตั้งใจ”
    การรับ Input ห้ามทำไปงั้น ๆ แต่เราต้อง อ่านอย่างตั้งใจ ฟังอย่างตั้งใจ ดูอย่างตั้งใจ
  2. ตั้งเป้าหมายของการสร้าง Output ก่อน แล้วค่อยลงมือทำ Input
    เราต้องกำหนด Output ที่ต้องการให้เป็นรูปธรรมและกำหนดเวลาให้ชัดเจน เช่น เราวางเป้าหมายว่าต้องการสอบ TOEIC ให้ได้ 450 คะแนน ภายในสิ้นปีนี้ เพื่อที่จะไปเรียนต่อที่ต่างประเทศ ดังนั้นเราจึงต้องศึกษาภาษาอังกฤษ ซึ่งการทำแบบนี้จะช่วยมองเห็นวิธีการเรียนที่ชัดเจนขึ้น รู้ว่าต้องซื้อหนังสือแบบไหน และใช้เวลาเรียนสัปดาห์ละกี่ชั่วโมง
  3. ทำ Input กับ Output ไปพร้อม ๆ กัน
    ซึ่งเรื่องนี้ก็คือ “บันใดวนแห่งการพัฒนาตนเอง” ในหนังสือ The Power of Output นั่นเอง เช่น เมื่อเราอ่านหนังสือเราควรจดไปด้วยและเมื่อเราอ่านจบเราควรเขียนรีวิว เขียนสรุป หรือเล่าให้เพื่อนฟัง

เทคนิคการทำ Input ให้เกิด Output มากขึ้น

เทคนิคที่จะช่วยให้เราจดจำ Input ได้มากขึ้น หรือสร้าง Output ได้มากขึ้นก็คือ การตั้งเป้าหมายการทำ Output ไว้ล่วงหน้า ผู้เขียนบอกว่าการทำแบบนี้จะเพิ่มประสิทธิภาพได้ 100 เท่า เลยทีเดียว

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อหัวหน้าให้เราไปเข้าอบรมเป็นเวลา 3 วันและบอกกับเราว่าต้องกลับมาสอนคนในบริษัทเป็นเวลา 3 ชั่วโมง เราคงจะตั้งใจฟัง จดเนื้อหาที่สำคัญ และจดจำได้มากขึ้นอย่างแน่นอน

วิธีเก็บเฉพาะข้อมูลที่จำเป็น

ผู้เขียนพูดถึง Cocktail party effect ว่า เมื่อเราอยู่ในงานปาร์ตี้ที่มีคนเยอะ ๆ แล้วมีใครซักคนพูดถึงชื่อเรา เราก็ยังจะได้ยินแม้อยู่ท่ามกลางเสียงดังก็ตาม

นั่นเป็นเพราะในสมองของเรามี “สมาธิเลือกสรร (Selective Attention)” หรือที่ในหนังสือเล่มนี้เรียกว่า “การตั้งเสาอากาศแห่งความสนใจ” มาช่วยเราเก็บเฉพาะข้อมูลที่มีความสำคัญ

เทคนิคที่จะช่วย “ตั้งเสาอากาศแห่งความสนใจ” คือ

  1. เขียนคีย์เวิร์ดของสิ่งที่เราสนใจ แล้วกลับมาดูเป็นครั้งคราว
  2. ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน ว่าเราจะเรียนรู้อะไรจาก Input นั้น ช่วยให้สมองเราเลือกรับรู้จุดที่มีความสำคัญได้โดยอัตโนมัติ
  3. ตั้งคำถามกับตัวเอง เพราะเวลาที่สมองถูกถาม มันจะพยายามหาคำตอบของคำถามนั้น
  4. ตั้ง Output ไว้ล่วงหน้า เช่น อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วจะเขียนรีวิว ซึ่งการตั้ง Output ไว้ล่วงหน้าเป็นวิธีที่ดีเยี่ยมสำหรับการตั้งเสาอากาศแห่งความสนใจ

เพิ่มความสามารถในการจดจำด้วยอารมณ์

สมองเราจะจดจำได้ดีขึ้นเมื่อเรื่องนั้น ๆ มีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นเพื่อเพิ่มความสามารถของสมองในการจดจำ Input เราควรที่จะ

  1. สร้างให้เป็นเรื่องราว อาจประยุกต์เป็นการอ่านในรูปแบบการ์ตูนหรือนิยาย
  2. เรียนรู้ในสิ่งที่รู้สึกตื่นเต้น อยากรู้อยากเห็น
  3. เมื่อซื้อหนังสือมาให้อ่านทันที เพราะตอนนั้นเรามีความรู้สึกอยากอ่าน
  4. เมื่อมีข้อสงสัย ให้หาคำตอบทันที
  5. นำเสนอต่อหน้าผู้อื่น เพราะความตื่นเต้น+การสอน จะช่วยเพิ่มความจำ
  6. พยายามเชื่อมโยง “ความประทับใจ” กับ “การเรียนรู้”
  7. เรียนรู้จากการท่องเที่ยว เพราะมีทั้งความตื่นเต้น ความระทึกใจ และประทับใจ
Categories
หนังสือ

หนังสือ The Power of Output – ศิลปะของการปล่อยของ

ก่อนหน้านี้ผมพยายามอ่านให้เยอะ เรียนให้เยอะ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็น Input แต่หนังสือ “The Power of Output – ศิลปะของการปล่อยของ” เล่มนี้บอกว่าสิ่งที่สร้างผลกระทบกับชีวิตหรือพัฒนาตัวเราได้มากกว่า คือ Output

หนังสือแนะนำให้สัดส่วน Input : Output = 3:7

โดยหนังสือจะย้ำให้เห็นแผนภาพความสัมพันธ์ระหว่าง Input, Output และ Feedback

  • Input ต้อง “เลือกรับรู้” หนังสือไม่ได้ลงรายละเอียดมากนัก เพราะมีหนังสืออีกเล่มชื่อ Input ที่เขียนโดยผู้เขียนคนเดียวกัน
  • Output หนังสือแบ่งออกเป็น การพูด การเขียน และการลงมือทำ ซึ่งครอบคลุมในหลายประเด็น มีคำแนะนำที่น่าสนใจที่สามารถนำมาปรับใช้ได้มากมาย
  • Feedback เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนา Input, Output ให้ดีขึ้น เช่น ถ้าเป็นงานเขียนก็แชร์ใน Social Network ของเรา หรืออาจหาคนที่ให้คำแนะนำเราได้

เช่น

ตัวอย่างที่ 1 เมื่อเราอ่านหนังสือเล่มนึงจบ (Input) เราต้องเขียนสรุปหรือ Review ออกมา (Output) แล้วเราต้องนำไปให้คนอื่นอ่านเพื่อรับความคิดเห็นมาพัฒนาตัวเองต่อไป (Feedback)

ตัวอย่างที่ 2 เมื่อเราเรียนคอร์สเขียนโปรแกรมทางออนไลน์ (Input) เราต้องคิดและทำโปรเจคโดยใช้ความรู้ที่เราเรียนมา (Output) และนำไปเผยแพร่ให้เพื่อนหรือนำขึ้น Store ให้ผู้อื่นใช้งาน รับคำแนะนำและความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงต่อไป (Feedback)

นอกจาก Input, Output และ Feedback แล้ว หนังสือเล่มนี้ยังเน้นย้ำเรื่องการตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย (ต้องมีความยากเล็ก ๆ) ความสนุก และความสม่ำเสมอด้วย

โดยรวมแล้วหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาค่อนข้างเยอะ แต่อ่านง่าย อ่านได้เร็ว แบ่งเป็นหัวข้อสั้น ๆ 2-3 หน้า มีภาพประกอบเยอะ มีสรุปสั้น ๆ และไฮไลต์ส่วนสำคัญมาให้เลย

ส่วนตัวแล้วผมชอบหนังสือเล่มนี้นะครับ และคงต้องหยิบมาดูคำแนะนำแต่ละส่วนซ้ำ ๆ อีกหลายครั้ง

อ่านจบแล้วผมคงต้องจัดสรรเวลาใหม่ ต้องสร้าง Output ให้มากขึ้น แชร์ให้ผู้อื่นได้อ่านได้เห็นผลงานเพื่อรับ Feedback และที่สำคัญต้องทำทุกวัน

Categories
หนังสือ

สรุปหนังสือ Effortless Reading

effortless_reading_book

ผมอ่านเล่มนี้แล้วชอบมาก หนังสือเล่มนี้นำเสนอแนวคิดที่จะช่วยให้การอ่านหนังสือมีประสิทธิภาพมากขึ้นภายใต้ 3 แนวคิดสำคัญ
คือ

  1. เข้าใจจุดแข็งและสถานะการณ์ของตนเอง มีผลกับการเลือกอ่านหนังสือของแต่ละคน หนังสือที่คนอื่นแนะนำว่าดีอาจจะไม่ใช่หนังสือที่เหมาะกับตนเอง
  2. อ่านหนังสือภายใต้แนวคิดแบบ “Gold Miner Mindset” หนังสือบางประเภทไม่ต้องอ่านทั้งเล่ม เพราะมีแนวคิดหลักเพียง 2-3 อย่างเท่านั้น หาแนวคิดเหล่านั้นให้พบอย่างรวดเร็ว
  3. สร้างนิสัยในการอ่าน ด้วยแนวคิดและเทคนิคต่างๆที่นำเสนออยู่ในหนังสือ
Categories
หนังสือ

#52Books : (1) ทำน้อยได้มาก

ทำน้อยได้มาก - The power of LESSทำน้อยให้ได้มาก (The Power of Less)
เคล็ดลับที่คนทำงานยุ่งตลอดเวลาไม่เคยรู้ เพราะการทำงานไม่ได้หมายถึงผลลัพธ์ที่เพิ่มขึ้นเสมอไป
ผู้เขียน Leo Babauta
ผู้แปล วิกันดา พินทุวชิราภรณ์