Categories
ภาษาอังกฤษ

อ่านออกเสียง -ed ในภาษาอังกฤษ

ผมมีปัญหากับการอ่าน และออกเสียง Verb ที่เติม -ed มากเลย วันนี้เลยไปหาข้อมูลมาแปะไว้อ่านทบทวนซะหน่อย

 

หลักการนั้นง่ายมากครับ เราใช้เล่า “เหตุการณ์ในอดีต และมักจะระบุเวลาในอดีตด้วย” เช่น หากเราจะเล่าว่าเมื่อวานนี้เราทำอะไรบ้าง ก็จะต้องใช้ tense นี้ล่ะครับ ลองเปรียบเทียบประโยค 2 ประโยคนี้ดูนะครับ

go to school by bus. (ใช้กริยาช่องที่ 1 แสดงว่าปกติทำแบบนี้)

went to school on foot yesterday. (ใช้กริยาช่องที่ 2 แสดงว่าพูดถึงอดีตที่ระบุเวลา เมื่อฝรั่งได้ยินประโยคแบบนี้ เขาก็สามารถตีความต่อได้ว่า ปกติคงไม่เดินไป แต่เฉพาะเมื่อวานนี้เท่านั้นที่ทำแบบนั้น)

I usually see a movie at the Mall. (ปกติไปดูที่นี่)

saw a movie at the Mall last night. (ไปดูที่เดิมนั่นแหละ แต่พอระบุเวลาในอดีต ก็ต้องเปลี่ยนกริยาเป็นช่องที่ 2 ไงครับ)

เห็นไหมครับว่าไม่ยาก แต่ความยากของ tense นี้ก็คือ การเปลี่ยนกริยาให้เป็นอดีตนั่นล่ะครับ ผมพอจะบอกได้ว่า กริยาส่วนใหญ่จะเติม -ed แต่จะมีกริยาอีกกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า Irregular Verbs หรือที่เราเรียกว่ากริยา 3 ช่องนั่นล่ะครับ ที่ต้องเปลี่ยนรูปเมื่อเป็นอดีต (อยากรู้ว่ามีอะไรบ้างก็ไปหาซื้ออ่านกันเอาเองนะครับ)

ความยาก (แต่สนุก) อันต่อไปก็คือ แล้วเราควรจะออกเสียงกริยาที่เติม -ed ว่าอย่างไร เหมือนที่ผมทิ้งท้ายไว้คราวที่แล้วว่า love กับ loved ออกเสียงต่างกันอย่างไร หลายคนคิดว่าไม่สำคัญ แต่จริง ๆ แล้วสำคัญมาก เพราะในภาษาเขียนเราเติม -ed เห็นชัดเจนว่าเป็นอดีต แล้วในภาษาพูดล่ะครับ ผู้ฟังจะรู้ได้อย่างไรว่า I love you. หรือ I loved you.

อ.หนุ่ย– (เขียนบนกระดาน stopped, helped) อ่านว่าอย่างไรครับ

นักเรียน– สต๊อปเป็ด, เฮ้ลเป็ด

อ.หนุ่ย– อืม…กาลครั้งหนึ่ง มีเป็ดเดินมา นายพรายใจร้ายตะโกนว่า “Stop เป็ด” เป็ดตกใจ ไม่รู้จะทำอย่างไร พอดีมีอัศวินขี่ม้าขาวมา “Help เป็ด”

นักเรียน– (ขำกลบเกลื่อน เพราะรู้ว่าตัวเองอ่านผิด และไม่น่าจะเกี่ยวอะไรกับเป็ด)

อ.หนุ่ย– ที่เราอ่านผิดเพราะเราไปสะกดตามตัวที่เราเห็น ลองอ่านคำนี้ดูนะ (เขียนอีกคำ played )

นักเรียน– เพลย์…… (–‘ ไม่กล้าอ่านต่อ)

ครับ ภาษาอังกฤษก็เป็นอย่างนี้ล่ะครับ ไม่สามารถออกเสียงตรง ๆ ได้เสมอไป เช่น put (พุท) cut ไม่เห็นจะอ่านว่า คุท ส่วนหลักในการออกเสียง -ed นั้นมีหลักกว้าง ๆ ดังนี้ครับ

Past tense หมายถึงอดีต โดยมากจะเป็นกริยาช่องที่หนึ่งเติม ed
เช่น คำว่า stop แปลว่าหยุด พอเป็นช่องที่สองก็เติม ed แล้วอ่านว่า stopped (สต๊อป-เทอะ)
อ่านออกเสียงเหมือนตัว t ไม่ใช่ สะ ต๊อป เปด
ลองมาดูกันดีกว่า ed จะอ่านออกเสียงเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับเสียงพยัญชนะสุดท้ายที่ ed ตามอยู่
1.) อ่านออกเป็นเสียง /t/ ถ้าตามหลังเสียง /p/, /k/, /f/, /s/
เสียงพวกนี้เรียกว่า “เสียงไม่ก้อง” คือเวลาออกเสียงลองจับที่คอดูสายเสียงจะไม่สั่น

มาดูตัวอย่างการออกเสียงกัน
– Stopped ออกเสียงว่า สะ ต๊อป เทอะ
– Laughed หัวเราะ ออกเสียงว่า แลฟ เทอะ
– Asked ถาม ออกเสียงยว่า แอค สะ เทอะ
– stop -> stopped เสียงท้ายคำเป็นเสียง /p/ ออกเสียง ed เป็น /t/
– look -> looked เสียงท้ายคำเป็นเสียง /k/ออกเสียง ed เป็น /t/
– miss -> missed เสียงท้ายคำเป็นเสียง /s/ออกเสียง ed เป็น /st/
– practice -> practiced เสียงท้ายคำเป็นเสียง /s/ออกเสียง ed เป็น /st/
– watch -> watched เสียงท้ายคำเป็นเสียง /ch/ออกเสียง ed เป็น /-cht/
– wish -> wished เสียงท้ายคำเป็นเสียง /sh/ออกเสียง ed เป็น /-sht/
– box -> boxed เสียงท้ายคำเป็นเสียง /ks/ออกเสียง ed เป็น /kst/
– laugh -> laughed เสียงท้ายคำเป็นเสียง /f/ออกเสียง ed เป็น /ft/
– manage -> managed เสียงท้ายคำเป็นเสียง /ge/ออกเสียง ed เป็น /-ge-t/

ยกเว้น เสียง /t/ ซึ่งเมื่อเติม ed ท้ายคำจะออกเสียงเป็น /id/

2.) อ่านออกเสียงเป็นเสียง /d/ ถ้าตามหลังเสียงก้อง
เสียงก้อง เช่น /b/, /g/,/v/, /m/, /n/, /r/, /l/ เสียงก้องเวลาออกเสียง สายเสียงจะสั่น

ลองเอามือจับที่คอดูเวลาออกเสียงเหล่านี้
ดังนั้น คำว่า called เรียก โทรศัพท์ ed ตามหลังเสียงแอล คำนี้จะอ่านว่า คอล เดอะ
– Planned วางแผน อ่านว่า แพลน เดอะ
– Loved รัก อ่านว่า เลิฟ เดอะ
– name -> named เสียงท้ายคำเป็นเสียง /m/ ออกเสียง ed เป็น /d/
– beg -> begged เสียงท้ายคำเป็นเสียง/g/ออกเสียง ed เป็น /d/
– use -> used เสียงท้ายคำเป็นเสียง/z/ออกเสียง ed เป็น /d /
– control -> controlled เสียงท้ายคำเป็นเสียง/l/ออกเสียง ed เป็น /d/
– try -> tried เสียงท้ายคำเป็นเสียง/ai/ออกเสียง ed เป็น /d/เป็นต้น

ยกเว้น เสียง/d/ ซึ่งเมื่อเติม ed ท้ายคำจะออกเสียงเป็น /id/

3.) อ่านออกเป็นเสียง /id/ อิด ถ้า ed ไปตามหลังเสียง /t/ และ /d/
ถ้าเสียงสุดท้ายของคำก่อนเติม ed ลงด้วยเสียง /t/ หรือ /d/ อยู่แล้ว อย่างเช่น คำว่า
– Presented (นำเสนอ) ถ้าออกเสียงว่า พรี–เซ้น-ทึ-ทึ ก็จะดูแปลกๆ คำนี้เราอ่านว่า พรี เซ้น ทึด
– Ended (จบ) อ่านว่า เอ็น ดิด
– Recorded (บันทึกเสียง) อ่านว่า เรค คอร์ด ดิด

สรุป ed อ่านได้สามเสียง
1. เสียง /t/ ถ้าตามหลังเสียงไม่ก้อง เช่น พวก /p/, /k/, /f/, /s/
2. เสียง /d/ ถ้าตามหลังเสียงก้อง เช่น /b/, /g/,/v/, /m/, /n/, /r/, /l/
3. ถ้า ed ตามหลังเสียง /t/ กับ /d/ ให้อ่านเสียง อิด

>> แบบฝึกหัดการออกเสียง -ed

อ้างอิง

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=174481

http://www.sahavicha.com/readme.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=2135

http://sar.hatyaiwit.ac.th/articles.php?lng=th&pg=195