Categories
ภาวะผู้นำ

คุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ตอบ นศ. ปริญญาเอก”ฮาร์วาร์ด” ผู้นำ 5 ระดับ แบบตะวันออก เป็นอย่างไร ?

จาก คุยกับซี.พี

ถ้าเปรียบการบริหารองค์กรเสมือนกับการทำสงคราม “ผู้นำ” ก็ปรียบเสมือน “แม่ทัพ” ที่จะต้องวางแผน วางกลยุทธ์ให้ลูกทัพปฏิบัติตาม หากวางแผน หรือบริหารงานผิดพลาดจะส่งผลกระทบกับองค์กรและบุคคลากรในองค์กร
ท่ามกลางความหลากหลายขององค์กรในปัจจุบัน “ผู้นำ”ควรมีรูปแบบเป็นอย่างไร จึงจะนำพาองค์กรให้ก้าวต่อไปในโลกอันกว้างใหญ่ได้
เมื่อเร็วๆ นี้มีนักศึกษาปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มาขอสัมภาษณ์ผมเพื่อทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับเรื่อง “ภาวะผู้นำแบบตะวันออก” ผมอยากนำเอาคำตอบในวันนั้นมาแบ่งปันให้คนอื่นได้รับรู้ด้วย เผื่อจะเป็นประโยชน์บ้างสำหรับคนที่เป็นผู้นำอยู่ในปัจจุบัน และผู้ที่จะเป็นผู้นำในวันข้างหน้า
ตามความเข้าใจของผม แนวคิดแบบตะวันออกแบ่งผู้นำเป็น 5 ระดับ ดังนี้

ระดับล่างสุด คือ ผู้นำที่เฉลียวฉลาด มีไหวพริบ รู้เท่าทันคน มียุทธวิธีและกลยุทธ์ที่แหลมคม มีวิสัยทัศน์กว้างไกล เป็นผู้นำที่ลูกทีมมั่นใจว่าจะพาทีมไปได้ตลอดรอดฝั่ง ผู้นำระดับนี้เรียกว่า “ผู้นำที่เก่งฉลาด”
ระดับที่สอง คือ ผู้นำเก่งฉลาดบวกด้วยประสบการณ์ชีวิต รวมทั้งมีบทเรียนที่เคยผ่านความเจ็บปวดมาแล้ว และแน่นอนต้องผ่านการทำงานอย่างโชกโชนเพียงพอ เขาจะได้เข้าใจถึงกาลเทศะ เรื่องอะไรควรหนัก เรื่องอะไรควรเบา สิ่งใดควรรีบเร่ง สิ่งใดควรรั้งรอไว้ก่อน ประเด็นใดสำคัญมาก ประเด็นใดสำคัญน้อยกว่า ผู้นำระดับนี้ก็จะสร้างความมั่นใจได้มากขึ้นว่า จะไม่บุ่มบ่าม หุนหันพลันแล่น แต่จะมีวิธีแก้ปัญหาที่ยืดหยุ่น นุ่มนวล ถูกต้องสอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆ ได้ดีขึ้น เท่ากับนำพาให้ทีมงานลดความเสี่ยงที่จะต้องพบเจอกับภาวะวิกฤตโดยไม่จำเป็น ผู้นำระดับนี้เรียกว่า “ผู้นำที่มีปัญญา”
ระดับที่สาม คือ ผู้นำที่มีปัญญาแล้วยังสามารถเป็นที่พึ่งของลูกน้องได้ มีความเมตตากรุณาที่ใครเดือดร้อนก็จะมาพึ่งพาขอความช่วยเหลือ ลูกทีมที่อยู่ร่วมกันก็จะมีความรู้สึกผูกพัน อบอุ่น มั่นคง ผู้นำระดับนี้เรียกว่า “ผู้นำที่มีน้ำใจ”
ระดับที่สี่ คือ ผู้นำที่เปิดทางสนับสนุนให้ลูกทีมได้ประสบความสำเร็จ บุคคลเหล่านั้นจะเคารพนับถือผู้นำชนิดนี้อย่างสุดจิตสุดใจ เพราะความสำเร็จในชีวิตของพวกเขาได้มาจากผู้นำคนนี้ ผู้นำระดับนี้เรียกว่า “ผู้นำที่สร้างคน”
ระดับสูงสุด คือผู้นำที่ไม่ได้อยากเป็นผู้นำ แต่เป็นคนที่มีความสามารถนำพาองค์กรทั้งทีมฝ่าฟันผ่านพ้นวิกฤตไปได้โดยไม่มีกิเลสตัณหาคิดจะเป็นใหญ่ จึงทำทุกอย่างโดยไม่มีอะไรแอบแฝง โปร่งใสตรวจสอบได้ในทุกด้าน ดังเช่นปูชนียบุคคลที่ผมเคยเขียนแนะนำประวัติไว้สองท่าน คือ จอร์จ วอชิงตัน(1) และ เติ้งเสียวผิง(2) ซึ่งล้วนถูกเคี่ยวเข็ญให้ขึ้นมาเป็นใหญ่เพื่อกอบกู้วิกฤต และ พยายามขอถอนตัวจากไปอย่างเงียบๆ เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจที่ต้องรับผิดชอบ ผู้นำระดับนี้เรียกว่า “ผู้นำที่ยิ่งใหญ่”
กล่าวโดยสรุป ผู้นำระดับที่หนึ่งและสองใช้ “สมอง” เป็นหลัก แต่ผู้นำที่สูงขึ้นมาในระดับสาม สี่ ห้า ต้องใช้ “หัวใจ” เป็นกลไกขับเคลื่อน แนวทางการบริหารจัดการแบบตะวันออกเน้นเรื่องหัวใจมากกว่าสมอง โดยยึดปรัชญาที่ว่า “คนจะใหญ่ หัวใจต้องใหญ่พอ”
ดังนั้น บุคคลที่ไม่ได้มีความสามารถโดดเด่นมากที่สุดหรือเก่งที่สุด แต่มีภาวะจิตใจอยู่ในระดับสาม สี่ ห้า ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว จึงมักจะอยู่ในตำแหน่งระดับสูงขององค์กรใหญ่ๆ ที่บริหารตามแนวทางตะวันออก เพราะองค์กรเหล่านี้ไม่ได้ยึดผลประโยชน์เป็นใหญ่ แต่ให้น้ำหนักกับเรื่องความสุขของทุกคนในทีมเป็นเป้าหมายที่สำคัญที่สุด

เชิงอรรถ
1 จอร์จ วอชิงตัน เข้าร่วมขบวนการปลดแอกจากอังกฤษจนสำเร็จ และเมื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของสหรัฐอเมริกาเรียบร้อยแล้ว ก็กลับบ้านไปทำไร่ตามเดิม จนถูกพรรคพวกที่เคารพนับถือไปรบเร้าเชื้อเชิญให้กลับมาเป็นประธานาธิบดี และเมื่อดำรงตำแหน่งครบ 2 สมัย พรรคพวกก็จะแก้กฎหมายเป็นกรณีพิเศษให้ดำรงตำแหน่งต่อไปได้ แต่ จอร์จ วอชิงตัน กล่าวขอบคุณพร้อมตอบปฏิเสธไป
2 เติ้งเสี่ยวผิง เป็นผู้กอบกู้วิกฤตของสังคมจีนที่ถูกย่ำยีจนย่อยยับด้วยน้ำมือของ “แก๊งสี่คน” จนประเทศอ่อนแอและอับอายไปทั่วโลก เติ้งเสี่ยวผิงผลักดันให้เกิดการพัฒนาประเทศทุกๆ ด้านด้วยนโยบาย “สี่ทันสมัย” จนประเทศจีนเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วมาผงาดอยู่ในแถวหน้าของมหาอำนาจโลก แต่หลังจากปี ค.ศ.1978 จนถึง ค.ศ. 1997 ที่เขาเสียชีวิต เติ้งเสี่ยวผิงไม่ยอมรับตำแหน่งประธานาธิบดีหรือประธานพรรค ยอมรับเพียงแค่ตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการทหารเพียงตำแหน่งเดียว และหลังจากเขาเสียชีวิตมาจนถึงปัจจุบันปี ค.ศ. 2013 ยังไม่ปรากฎว่า เติ้งเสี่ยวผิงและลูกหลานร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินซุกซ่อนไว้

ที่มา : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1373885879&grpid=03&catid=03

Categories
ภาวะผู้นำ

ผู้นำในวันนี้ หรือ ผู้ตามในวันข้างหน้า?

สำหรับใครที่คิดว่าเป็นผู้นำ หรือว่าคิดว่าตัวเองเป็นเลิศอยู่เสมอๆ แล้วละก็ ลองดูวีดีโอด้านล่างนี้นะครับ เพื่อที่จะได้คอยเตือน แล้วก็พยายามที่จะพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา ทุกวันนี้โลกเราเปลี่ยนแปลงเร็วนะฮะ สิ่งที่เราคิดว่าเจ๋ง หรือว่าสุดยอดในวันนี้ วันข้างหน้าอาจจะเป็นเพียงแค่ของเล่นก็ได้นะครับผม

ที่มา: http://pccompete.com/today-leader-or-follower-tomorrow/

Categories
ภาวะผู้นำ

สุดยอดผู้นำต้องมุ่งมั่น แต่ถ่อมตัว

มองมุมใหม่ : ดร.พสุ เดชะรินทร์ [email protected] กรุงเทพธุรกิจ  วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2548

ท่านผู้อ่านคงจะได้อ่าน ข่าวของหนึ่งในสองผู้บริหารสูงสุดของดีแทค (คุณซิคเว่ บริคเก้) ที่กลับเข้ามาบริหารบริษัทอีกครั้ง ด้วยความมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนบริษัทที่ดี (Good Company) เป็นบริษัทที่สุดยอด (Great Company) หรือถ้าเป็นศัพท์ที่เขาใช้ก็จะต้องเป็น Good to Great หรือแม้กระทั่งนายกรัฐมนตรีที่ต้องการให้ในอีกสี่ปีข้างหน้าเป็นการสร้าง ซึ่งถ้าท่านผู้อ่านพิจารณาดูดีๆ แล้วจะพบว่า ความหมายของผู้บริหารทั้งสองท่านก็ไม่ได้ต่างกันเท่าใด

ผมเลยย้อนกลับไปอ่านหนังสือ Good to Great ของ Jim Collins อีกครั้ง จริงๆ แล้วหนังสือเล่มนี้ออกมาตั้งแต่ปี 2001 และขายดีมาก จนกระทั่งในปัจจุบันก็ยังเป็นหนังสือขายดีติดอันดับของ Amazon.com อยู่ กลับไปอ่านทบทวนในบทแรกๆ ก็เจอบทที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำที่เขาเรียกว่า ผู้นำระดับ 5 ซึ่งเป็นคุณลักษณะของผู้นำที่สามารถปรับเปลี่ยนองค์กรได้

Categories
ภาวะผู้นำ

คุณลักษณะในการสร้าง “ผู้นำ” 10 ประการ – เคล็ดลับของการรักษาความเป็นผู้นำ

เคล็ดลับของการรักษาความเป็นผู้นำ

กว่าจะสร้างความรู้, ความสามารถ ตลอดจนผลงานให้ทีมงานยอมรับความเป็น“ผู้นำ” นั้น ก็แสนจะยากลำบาก แต่ที่ยากกว่า คือ การรักษาสถานภาพการเป็น “ผู้นำ” ให้อยู่ตลอดไป เพราะส่วนมากแล้ว เมื่อประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งก็จะเกิดอาการ “หลงระเริง”จนเสื่อมเสียความเป็น“ผู้นำ” ไป สิ่งที่ควรระวัง มีดังนี้

กับดัก ที่ทำให้สูญเสียความเป็น “ผู้นำ”

1. การหลงตัวเอง (อัตตา)

เมื่อประสบความสำเร็จ มีคนยอมรับ และไว้วางใจท จึงมอบอำนาจในการนำ (Authority)ให้ ก็จะเริ่มคิดว่า “ข้าก็เก่ง, ข้าก็แน่” แล้วทำไมต้องทำงานหนัก, ต้องลงไปคลุกคลีกับพนักงานระดับล่าง, ลูกค้าทั่วไปอีก จึงเริ่มเปลี่ยนวิธีการทำงานมาเน้นที่การอ่านรายงาน การประชุม การวางแผน และการสั่งการ

Categories
ภาวะผู้นำ

คุณลักษณะในการสร้าง “ผู้นำ” 10 ประการ (10) P = Planer นักวางแผน ลดความเสี่ยงได้

P = Planer นักวางแผน ลดความเสี่ยงได้

คนทั่วไปจะไม่วางแผน เพราะสาเหตุ ดังนี้

1. เชื่อเรื่อง ยถากรรม

ลองดูเหตุการณ์ต่อไปนี้

ลูกมะพร้าว ตกลงบนพื้น เรียกว่า “ยถากรรม”

ลูกมะพร้าว ตกลงหัวคน เรียกว่า “เคราะห์ร้าย”

แต่ถ้ากระโดดหนีทัน เรียกว่า “โชคดี”

จึงพอสรุปได้ว่า “โชค ลาภ อยู่ที่การแสวงหา, วาสนา อยู่ที่การกระทำ

Categories
ภาวะผู้นำ

คุณลักษณะในการสร้าง “ผู้นำ” 10 ประการ (9) I = Improver นักพัฒนา สอนงานเป็น

I = Improver (นักพัฒนา สอนงานเป็น)

ผู้ที่สอนงานไม่ได้ ก็จะไม่สามารถที่จะเป็นผู้นำได้ เพราะ นอกจากการมี “ความไว้ใจ”ในในความรู้ความสามารถ “ความวางใจ” ในความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบแล้ว ผู้ตามยังมีความคาดหวังที่จะได้รับ “ความมั่นใจ” จากการพัฒนาจากผู้นำอีกด้วย

การพัฒนาความรู้ ความสามารถของทีมงาน นอกจากจะเป็นภารกิจในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจแล้ว ยังเป็นการพัฒนาตัวผู้นำเองอีกด้วย เพราะ จากการศึกษาพบว่า ความสามารถในการจำได้ และ เข้าใจ เปลี่ยนแปลงไปตามวิธีการเรียนรู้ ดังนี้

% ของความจำได้ และ เข้าใจ

อ่านเอง                              10%

ได้ฟัง                                 20%

ได้เห็นวิธีทำ                         30%

ได้ฟัง + ได้เห็นวิธีทำ             50%

ได้สอน                               70%

ได้สอน +ได้ลงมือปฏิบัติ         90%

Categories
ภาวะผู้นำ

คุณลักษณะในการสร้าง “ผู้นำ” 10 ประการ (8) H = Humanity ผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ สร้างทีมได้

H = Humanity ผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ สร้างทีมได้

การที่จะนำคนได้ จะต้องมีความเข้าใจในความต้องการ, บุคลิก ตลอดจน วัฒนธรรมของเขาก่อน จึงจะสามารถสร้างความยอมรับนับถือจากเขาได้ นั่นคือ สิ่งที่จะบอกสถานะของการเป็นผู้นำ

ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้

การสร้างความอบอุ่นในการทำงานให้กับทีมงาน โดยไม่ปลีกตัวเหินห่าง เช่น ไม่ว่าจะมีภารกิจที่มากมายเพียงไร ก็ต้องจัดสรรเวลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน ร่วมทำงานกับทีมงาน (งานจริงๆ, ในพื้นที่จริง. ในเงื่อนไขจริง ไม่ใช่แค่ประชุม, ไม่ใช่แค่การลงเยี่ยม, มาใช่สั่งลูกน้องให้ตระเตรียมทุกอย่าง)

Categories
ภาวะผู้นำ

คุณลักษณะในการสร้าง “ผู้นำ” 10 ประการ (7) S = Self Control ผู้ควบคุมตัวเองได้ จึงได้ชื่อว่า “ผู้นำ”

S = Self Control (ผู้ควบคุมตัวเองได้ จึงได้ชื่อว่า “ผู้นำ”)

คนที่จะเป็นผู้นำที่ดี ควรจะมี

IQ (Intelligence Quotient) หมายถึง ความฉลาดด้านการเรียนรู้

EQ (Emotional Quotient) หมายถึง ความฉลาดด้านอารมณ์ ทำให้รู้จักควบคุมอารมณ์

MQ (Moral Intelligence Quotient) หมายถึง ความฉลาดด้านศีลธรรม ไม่คดโกงหรือเอาเปรียบคนอื่น

AQ (Advancement Intelligence Quotient) หมายถึง ความฉลาดด้านความมุ่งมั่น ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค

Categories
ภาวะผู้นำ

คุณลักษณะในการสร้าง “ผู้นำ” 10 ประการ (6) R = Responsibility ผู้มีความรับผิดชอบสูง เป็นที่เชื่อถือ

R = Responsibility ผู้มีความรับผิดชอบสูง จะเป็นที่เชื่อถือ

การเป็นแบบอย่างที่ดีในด้าน การมีความรับผิดชอบอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ทำให้ผู้นำได้รับความไว้วางใจจากคนอื่นๆ  เพราะคนมักจะเชื่อ ใน “สิ่งที่เห็น” มากกว่า “สิ่งที่ได้ยิน” (Actions speak louder than words)

มีท่านผู้รู้สอนไว้ว่า เมื่อมีข้อบกพร่อง ปัญหา หรือข้อผิดพลาดเกิดขึ้น

อย่าชี้นิ้วไปที่คนอื่น แล้วบอกว่าเขาผิด เพราะ

อีก 3 นิ้ว จะชี้เข้าหาตัวเอง

Categories
ภาวะผู้นำ

คุณลักษณะในการสร้าง “ผู้นำ” 10 ประการ (5) E = Endeavor ผู้มีความอดทน จะฝ่าฟันอุปสรรคได้

E = Endeavor ผู้มีความอดทน จะฝ่าฟันอุปสรรคได้

ผู้นำที่จะประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายไม่ใช่จะเป็นไปได้อย่างง่าย ๆ แม้ว่าผู้นำ จะมีความรอบรู้, มีวิสัยทัศน์ที่ถูกต้องเหมาะสม, กล้าตัดสินใจลงมือทำ ตลอดจนมีความมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายอย่างไม่คลอนแคลนแล้วก็ตาม แต่เนื่องจาก “คน” มีความสลับซับซ้อนทางอารมณ์สูงมาก จึงต้องมีความเข้าใจพื้นฐานของ “คน” ดังนี้

1. คนมีความแตกต่างกัน เช่น สีผิว, ความรู้, ความเข้าใจ, ทักษะ, บุคลิก, วัฒนธรรม

2. คนเป็นสัตว์สังคม ต้องการเพื่อน, ชอบสร้างพวก

3. คนมีความต้องการที่ไม่สิ้นสุด ไม่เคยพอ, ได้คืบ จะเอาศอก

4. คนชอบเข้าข้างตัวเอง “กูเก่ง, กูถูก” เสมอ

5. คนพัฒนาได้